วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมาชิกในกลุ่ม We're BME

สมาชิกผู้จัดทำมีดังนี้

นาย ภัททิยะ คำบัว
ชื่อเล่น นันท์ อายุ 20 ปี
ฉายาที่เพื่อนมักเรียก "นักรบเขมร" และ " คำบัว"
นิสัย สงบ เงียบ (รึเปล่า?)
ความไฝ่ฝัน อยากเรียนให้จบเร็วๆ (ภายในสี่ปี) จะได้มีงานทำ
ศิลปินที่ชื่นชอบ LADY GAGA
ล่าสุด สังกัดจังหวัดที่ 77 ของเมืองไทย จังหวัด "บึงกาฬ"






นาย ณัฐวุฒิ นันธิเสน
ชื่อเล่น กุ้ง
เพื่อนเรียก หัวโต กุ๊งกิ๊ง










นาย ธนานันท์ เหลืองอภิรมย์
ชื่อเล่น นันท์ นะจ๊ะ
เพื่อนๆเรียก คันทาชิมะ นันแปดโมง












นางสาว พนัชกร ปั้นอุดม
ชื่อเล่น นิ้งค์
เพื่อนๆๆเรียก ไอ้ล่ำ









วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เซนเซอร์วัดค่าความชื้น (Humidity Sensor)

เซนเซอร์วัดค่าความชื้น ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ Capacitive, Thermal Conductivity และ Resistive เมื่อเราจะเลือกนำไปใช้งานต่าง ๆ กัน การมาเริ่มทำความรู้จักถึงข้อดี และข้อด้อยของเซนเซอร์แต่ละชนิดจึงน่าจะมีประโยชน์ต่อข้อมูลการวัดที่จะได้รับมากที่สุด ผู้เขียนจะขอเริ่มจากสรุปข้อกำหนดที่เราควรจะจดจำไว้ เมื่อต้องเลือกใช้เซนเซอร์วัดค่าความชื้น ซึ่งได้แก่
1) ความแม่นยำ (Accuracy)
2) ความสามารถในการวัดซ้ำ (Repeatability)
3) เสถียรภาพในช่วงเวลายาว ๆ (Stability)
4) ความสามารถในการชดเชย (Condensation)
5) ความทนทานต่อสารเคมี
6) ขนาด และรูปตัวถังของเซนเซอร์ (Size & Package)
7) ความคุ้มทุน (Cost)

เซนเซอร์วัดความชื้นแบบคาปาซิตีฟ (Capacitive Humidity Sensor)
เซนเซอร์วัดค่าความชื้นแบบนี้วัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ งานวิจัยหรือทดลองทางฟิสิกส์ เซนเซอร์แบบนี้มีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยชั้นฐานแผ่นฟิล์มบางที่ทำจากโพลีเมอร์ หรือเมทัลออกไซด์ (Metal Oxide) ถูกวางอยู่ระหว่างอิเล็กโตรดทั้งสอง โดยพื้นผิวของฟิล์มบางดังกล่าวถูกเคลือบด้วยอิเล็กโตรดโลหะแบบมีรูพรุนเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและปัญหาจากแสงแดด

เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟสามารถตรวจจับความชื้นสัมพัทธ์ในสภาพแวดล้อมได้เกือบจะเป็นเชิงเส้น หรือมีการตอบสนองได้อย่างเป็นสัดส่วนที่ดีนั้นเอง โดยเมื่อค่าความชื้นสัมพัทธ์เปลี่ยนไป 1 เปอร์เซ็นต์ ค่าความจุไฟฟ้า (Capacitive) ก็จะเปลี่ยนไป 0.2 ถึง 0.5 pF

เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟถูกกำหนดให้มีคุณลักษณะเฉพาะคือค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำจึงทำให้ทำงานได้ดี แม้อุณหภูมิสูงถึง 200๐C การกลับสู่สภาวะเดิมจากสภาวะการควบแน่น และยังทนต่อไอระเหยของสารเคมีอีกด้วย ในขณะที่ช่วงเวลาการตอบสนองของเซนเซอร์คือ 30 ถึง 60 วินาที สำหรับการเปลี่ยนแปลงความชื้นในช่วง 63 เปอร์เซ็นต์

สำหรับข้อด้อยของเซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟ ซึ่งเริ่มจากความผิดพลาดเท่ากับ 2%RH ในช่วงการเปลี่ยนแปลงค่าความชื้น 5% ถึง 95%RH นอกจากนี้เซนเซอร์ยังถูกจำกัดความสามารถด้วยระยะระหว่างชิ้นส่วนตรวจจับความชื้นกับวงจรแปลงสัญญาณ เพราะหากไกลกันมากจะทำให้เกิดผลกระทบของค่าความจุไฟฟ้า และในทางปฏิบัติจะต้องน้อยกว่า 10 ฟุต

คุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของเซนเซอร์แบบค่าความจุก็คือ Dew Point เนื่องจากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสัญญาณสอดคล้องกับค่าความชื้นที่เปลี่ยนไป แม้จะเปลี่ยนแปลงไปน้อย ๆ ก็ตาม และค่า Drift ต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี แต่ถ้าค่าความชื้นที่เปลี่ยนไปต่ำกว่าในระดับที่กำหนดแล้ว เซนเซอร์ก็เริ่มที่จะทำงานไม่เป็นเชิงเส้น



เซนเซอร์ความชื้นแบบรีซีสตีฟ (Resistive Humidity Sensor)
เซนเซอร์ความชื้นที่จะวัดการเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์ไฟฟ้าของตัวกลางดูดความชื้น (Hygroscopic Medium) อย่างเช่น โพลิเมอร์ เกลือหรือสารสังเคราะห์ทั้งนี้อิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนจะแปรผันกับค่าความความชื้นในลักษณะของกราฟเอกซ์โปเนนเชียลกลับด้าน โครงสร้างของเซนเซอร์ Resistive ประกอบด้วยอิเล็กโตรดโลหะ 2 ส่วนวางอยู่บนฐานด้วยเทคนิคการวางแบบโฟโตรีซีส (Photo resist) อิเล็กโตรดอาจมีขดลวดพันรอบ Wire-wound Electrodes ใช้แกนเป็นพลาสติกหรือแท่งแก้วทรงกระบอกในส่วนของฐานนั้นถูกเคลือบด้วยเกลือ (Salt) หรือโพลีเมอร์ (Conductive Polymer) การทำงานของเซนเซอร์ก็คือดูดซับไอน้ำและไอออนที่แตกตัว เป็นผลให้ค่าความนำไฟฟ้าของตัวกลางเพิ่มขึ้น โดยช่วงเวลาการตอบสนองของเซนเซอร์อยู่ในช่วง 10 ถึง 30 วินาทีสำหรับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 63% โดยย่านของอิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนแปลงของเซนเซอร์แปรเปลี่ยน 1 kW ถึง 100 mW

เซนเซอร์แบบ Resistive จะใช้วงจรวัดแบบสมมาตร (Symmetrical) ซึ่งใช้แปล่งกำเนิดกระแสสลับกระตุ้นอย่างเช่นวงจรบริดจ์ (Bridge) และสาเหตุที่ให้ใช้กระแสตรงก็เพื่อป้องกันการเกิดขั้วศักย์ไฟฟ้าขึ้นนั่นเอง

เมื่อความต้านทานเปลี่ยนตามการเปลี่ยนของความชื้นเป็นผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรวัด กระแสไฟนี้จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแรงดันกระแสตรงเพื่อการส่งผ่านไปยังวงจรขยายย่านวัด วงจรขยายแรงดัน วงจรปรับเชิงเส้นและวงจรแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลต่อไป ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้วจะทำให้เซนเซอร์และ Resistive มีการตอบสนองต่ออุณหภูมิได้ดีมาก

ข้อดีของเซนเซอร์แบบ Resistive ก็คือการสับเปลี่ยนได้ (Interchangeability) หมายถึงหากตัวใดเสียก็สามารถนำอีกตัวหนึ่งมาแทนได้ โดยผ่านการสอบเทียบด้วยการปรับค่าความต้านทาน ซึ่งก็ทำให้ค่าความชื้นเปลี่ยนแปลงไปไม่เกิน ±2%RH อย่างไรก็ตามหากต้องการสอบเทียบเซนเซอร์ Resistive ได้อย่างแม่นยำ ก็สามารถทำได้โดยใช้ RH Calibration Chamber หรือสอบเทียบด้วยระบบ DA ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย ข้อควรจำอย่างหนึ่งของการใช้เซนเซอร์แบบ Resistive คืออ่านอุณหภูมิใช้งาน อยู่ในช่วง -40๐C ถึง 100๐C

แม้ว่าอายุการใช้งานของเซนเซอร์อยู่ในช่วง 5 ปี แต่การใช้งานในสภาพแวดล้อมของไอระเหยของสารเคมีหรือน้ำมันก็อาจทำให้อายุการใช้งานของเซนเซอร์สั้นลงกว่านี้ ข้อบกพร่องหรือข้อด้อยอีกอย่างของเซนเซอร์ Resistive ก็คือ การเกิดค่าเบี่ยงเบนเมื่อเกิดสภาวะควบแน่นหากใช้สารเคลือบที่ละลายน้ำได้

เซนเซอร์แบบ Resistive จะทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการผันแปรของอุณหภูมิไม่เกิน 10๐F หากเกินนี้ อุณหภูมิก็จะเริ่มส่งผลให้อ่านค่าความชื้นได้เพี้ยนไป อย่างไรก็ตามด้วยสาเหตุนี้เองจึงมีการเพิ่มระบบชดเชยอุณหภูมิเข้าไปด้วยเพื่อให้ความแม่นยำสูงขึ้น จากที่กล่าวมานี้คุณลักษณะที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถสับเปลี่ยนกันได้ และเสถียรภาพในช่วงเวลานาน จึงทำให้เหมาะใช้ในงานควบคุม อุปกรณ์แสดงผลในอุตสาหกรรม และใช้ในเครื่องใช้ต่าง ๆ ตามบ้าน


เซนเซอร์ความชื้นแบบ Thermal Conductivity
เซนเซอร์แบบนี้เป็นชนิดเดียวที่วัดค่าความชื้นสมบูรณ์ โดยอาศัยการคำนวณความแตกต่างระหว่างค่าการนำความร้อนของอากาศแห้ง (Thermal Conductivity) กับการนำความร้อนของอากาศที่มีไอน้ำอยู่ โดยเมื่ออากาศหรือก๊าซแห้ง มันจะมีความสามารถที่จะรับความจุความร้อนสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น สภาวะอากาศในทะเลทราย ซึ่งจะร้อนจัดในเวลากลางวัน แต่พอตกกลางคืนอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากสภาวะบรรยากาศแห้ง เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว อากาศที่มีความชื้นจะไม่เย็นลงอย่างรวดเร็วในตอนกลางคืนเพราะความร้อนยังแฝงอยู่ในไอน้ำของชั้นบรรยากาศ

เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity หรือเราอาจะเรียกเซนเซอร์ความชื้นสมบูรณ์ (Absolute Humidity Sensor) ประกอบด้วยเทอร์มิสเตอร์ 2 ตัว ต่ออยู่ในวงจรบริดจ์โดยเทอร์มิสเตอร์ตัวหนึ่งบรรจุอยู่ในแคปซูลที่มีก๊าซไนโตรเจน และเทอร์มิสเตอร์อีกตัวหนึ่งถูกวางอยู่ในบรรยากาศ กระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านเทอร์มิสเตอร์ทั้งสอง ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นในตัวเทอร์มิสเตอร์มากกว่า 200๐C และความร้อนที่กระจายออกจากเทอร์มิสเตอร์ในแคปซูลจะมากกว่า เทอร์มิสเตอร์ที่อยู่ในบรรยากาศ ความแตกต่างของอุณหภูมิของเทอร์มิสเตอร์ทั้งสองนี้ เป็นความต่างของการนำความร้อนของไอน้ำเทียบเก็บไนไตรเจนแห้ง ความแตกต่างของค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จึงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความชื้นสมบูรณ์

เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity มีความทนทานสูงและทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 300๐C และยังทนต่อไอระเหยสารเคมีได้เป็นอย่างดีจากคุณสมบัติที่ดีของวัสดุโครงสร้างเครื่องที่ไม่มีปฏิกิริยาทางสารเคมี เช่นแก้ว สารกึ่งตัวนำ ที่ใช้สร้างเทอร์มิสเตอร์พลาสติกทนอุณหภูมิสูงหรืออะลูมิเนียม

โดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity ในงานอุตสาหกรรมอบผ้าทั้งแบบที่ใช้ไมโครเวฟ หรือแบบที่ใช้ไอน้ำ รวมทั้งอุตสาหกรรมอบไม้ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ และการผลิตสารเคมีต่าง ๆ ทั้งนี้เซนเซอร์แบบนี้มีความแยกแยะที่ดีกว่าเซนเซอร์แบบอื่น ที่ระดับอุณหภูมิสูงกว่า 200๐F นอกจากนี้ก็อาจมีการใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำระดับ +3g/m3 ซึ่งเมื่อแปลงไปเป็นค่าความชื้นจะได้เท่ากับ ±5%RH ที่ 40๐C และ ±0.5% RH ที่ 100๐C

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โหลดเซลล์ (Load cell )

โหลดเซลล์ คือ เซนเซอร์ที่สามารถแปลงค่าแรงกด หรือแรงดึง เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าได้ เหมาะสำหรับการทดสอบคุณสมบัติทางกลของชิ้นงาน (Mechanical Properties of Parts) โหลดเซลล์ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก การทดสอบแรงกดของชิ้นงาน การทดสอบความแข็งแรงของชิ้นงาน การทดสอบการเข้ารูปชิ้นงาน(Press fit) ใช้สำหรับงานทางด้านวัสดุ โลหะ ทดสอบโลหะ ชิ้นส่วนรถยนต์ วิศวกรรมโยธา ทดสอบคอนกรีต ทดสอบไม้ ฯลฯ แบ่งออกเป็น 5 แบบ ดังนี้

โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจ (Strain Gauge Load cell) หลักการของโหลดเซลล์ ประเภทนี้ก็คือ เมื่อมีน้ำหนักมากระทำ ความเครียด(Strain) จะเปลี่ยนเป็นความต้านทานทางไฟฟ้าในสัดส่วนโดยตรงกับแรงที่มากระทำ ปกติแล้วมักจะใช้เกจวัดความเครียด 4 ตัว
(วงจร Wheatstone Bridge Circuit) ในการวัดโดยเกจตัวต้านทานทั้งสี่จะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อใช้แปลงแรงที่กระทำกับตัวของมันไม่ว่าจะเป็นแรงกดหรือแรงดึงส่ง สัญญาณออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้า โดยที่แรงดันไฟฟ้าที่ได้จะมีหน่วยเป็น mV/V หมายความว่า ถ้าจ่ายแรงดัน 10 V ให้กับ Load cell ที่มี Spec. 2 mV/V ที่ Full load สมมุติว่าน้ำหนักเป็น 2,000 กิโลกรัม
ดังนั้นเมื่อมีแรงกระทำต่อ Load cell ที่น้ำหนัก Full load สัญญาณที่จะได้ก็จะได้เท่ากับ 20 mVซึ่งก็พอจะแจงคร่าวๆ คือ

0 Kg = 0 mV
1000 Kg = 10 mV
2000 Kg = 20 mV

โหลดเซลล์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Load Cell) ลักษณะของการทำงานก็คือจะวัดน้ำหนักจากการเปลี่ยนแปลงความดันของของเหลวภายในระบบเมื่อมีแรงมากระทำที่แท่นรับน้ำหนักในโหลดเซลล์แบบไฮดรอลิกที่มีแผ่นไดอะแฟรม โดยแรงจะถูกส่งผ่านลูกสูบเป็นผลให้ของเหลวภายในช่องแผ่นไดอะแฟรมถูกกดอัด ซึ่งการวัดแรงที่เกิดขึ้นสามารถวัดได้จากความดันของของเหลวความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำกับแรงดันของของเหลวนี้ มีลักษณะเป็นแบบเชิงเส้นและไม่ขึ้นกับอุณหภูมิและปริมาณของของเหลวในกระบอกสูบโดยปกติโหลดเซลล์แบบนี้จะความแม่นยำ(Accuracy) ในการวัดอยู่ที่ประมาณ 0.3 % ที่ Full Scale ซึ่ง ระดับความแม่นยำนี้ก็เป็นที่ยอมรับได้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป

ข้อดีของโหลดเซลล์แบบนี้คือ สามารถที่จะใช้ในพื้นที่ที่อันตราย(Hazardous Area) เช่น พวกโรงงานที่มีวัตถุไวไฟต่างๆ เนื่องจาก Load cell แบบนี้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการวัด

สำหรับข้อเสียของโหลดเซลล์แบบไดอะแฟรมนี้ คือสามารถรับแรงสูงสุดได้ไม่เกิน 1000 psig เท่านั้นครับซึ่งจะไม่เหมาะกับการใช้ในงานที่ต้องการวัดแรงดันสูง

โหลดเซลล์แบบนิวแมติก(Pneumatic Load cell) ซึ่งจะทำงานโดย ใช้หลักการสมดุลแรงเช่นเดียวกับแบบไฮดรอลิก แต่ต่างกันที่ โหลดเซลล์แบบนี้จะมีความแม่นยำกว่าแบบไฮดรอลิก เพราะว่า มีการใช้ช่องว่างหลายช่อง ในการหน่วงความดันของของเหลวเพื่อลดแรงสั่นสะเทือน โหลดเซลล์แบบนี้ มักจะใช้วัดสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มากนักในงาน อุตสาหกรรมที่ต้องการความสะอาดและความปลอดภัยสูง

สำหรับจุดเด่นของโหลดเซลล์แบบนี้ คือ สามารถทนแรงกระแทกได้สูงและไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินอกจากนี้ ในระบบนิวเมติก จะไม่ใช้ของเหลวในเครื่องมือวัด เหมือนกับระบบไฮดรอลิก ทำให้ไม่มีของเหลวมาปนเปื้อนโดนสิ่งที่ต้องการจะวัดในกรณีที่ไดอะแฟรมมีการแตกร้าว

สำหรับข้อเสีย ของ Load cell แบบนี้มีคือความเร็วในการตอบสนองต่ำและต้องใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่สะอาดปลอดความชื้น อีกทั้งยังจะต้องมีการควบคุมอากาศหรือไนโตรเจนภายในเครื่องให้เหมาะสม

ไพโซรีซิสทีฟ (PiezoreSistive)ซึ่งมีการทำงานเหมือนกับเกจวัดความเครียด แต่ไพโซรซิสทีฟ สามารถผลิตสัญญาณออกมาได้ในระดับสูงจึงเหมาะสำหรับ เครื่องชั่งน้ำหนักที่ไม่ซับซ้อนในการวัดเนื่องจากสามารถต่อเข้าโดยตรงกับส่วนแสดงผล อย่างไรก็ตามเครื่องมือวัดลักษณะนี้ได้รับความนิยมลดลงเรื่อย ๆ เพราะตัวขยายสัญญาณที่มีคุณภาพดีนั้นมีราคาถูกลง นอกจากนี้ ไพโซรีซิสทีฟ (PiezoreSistive) ยังมีข้อเสียคือความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณที่ออกกับน้ำหนักที่ วัดมีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น

แมกเนโตสเตร็กทีฟ (Magnetostrictive)การทำงานของเซนเซอร์แบบนี้ขึ้นอยู่กับ การเปลี่ยนแปลงในการแผ่สัญญาณแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรที่อยู่ภายใต้แรงที่มากระทำแรงทำให้เกิดการผิดรูปของสนามแม่เหล็กและจะให้เกิดสัญญาณที่เป็นสัดส่วนโดยตรงต่อแรงที่มากระทำ ซึ่งจะใช้ หลักการการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กนั่นเองครับโดยอุปกรณ์ลักษณะนี้จะตรวจวัดการเคลื่อนที่ของแกนแม่เหล็ก และวัดการเหนี่ยวนำของขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป ในที่นี้การเคลื่อนที่ของแกนเหล็กจะแปรผันโดยตรงกับน้ำหนักที่วัดนั่นเองสำหรับโหลดเซลล์รูปแบบนี้มีความทนทานมากและยังคงมีใช้อยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมรีดโลหะ

สเตรนเกจ (strain gauge)

สเตรนเกจ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดการเปลี่ยนรูปของวัสดุ หรือที่เรียกว่าความเครียด (strain) ค่าสัญญาณที่ได้จากการวัดเป็นผลมาจากการเปลี่ยนค่าความต้านทานของสเตรนเกจ ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าความเครียด และความเครียดนี้มีความสัมพันธ์อยู่กับแรงที่กระทำต่อวัสดุ ด้วยเหตุนี้ การวัดค่าความต้านทานจึงสามารถนำไปหาค่าแรงที่กระทำได้ สเตรนเกจโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบาง มีโลหะแผ่นบาง (foil) ขดตัวอยู่ภายใน ดังรูปที่ 1 เมื่อวัสดุมีการเปลี่ยนรูปจะทำให้ค่าความต้านทานภายในตัวสเตรนเกจเปลี่ยนไป ในการใช้งาน สเตรนเกจจะถูกแปะติดกับชิ้นงานด้วยกาว การเปลี่ยนความต้านทานของสเตรนเกจมักถูกวัดด้วยวงจรวีตสโตนบริดจ์ (Wheatstone bridge) ดังรูปที่ 2 สเตรนเกจถูกนำมาใช้เพื่อหาแรงที่ตัวทำงานส่วนปลายและข้อมือของหุ่นยนต์ ตัวอย่างเช่น การติดสเตรนเกจไว้ที่ปลายมือจับของหุ่นยนต์ เพื่อวัดและควบคุมแรงในการจับ สเตรนเกจสามารถวัดแรงที่เกิดขึ้นที่ข้อต่อและลิงค์ได้ แต่พบไม่บ่อยนัก
(รูปที่ 1 สเตรนเกจ )



(รูปที่ 2 วงจรวีตสโตนบริดจ์ )

จากรูปที่ 2 ในสภาวะปกติ ความต่างศักย์ที่จุด A และจุด B มีเท่ากัน หากมีการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานตัวหนึ่งตัวใดในสี่ตัว จะมีการไหลของกระแสไฟฟ้าระหว่างจุด A กับจุด B ดังนั้น ในตอนเริ่มต้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับเทียบให้ค่ากระแสที่ไหลมีค่าเป็นศูนย์ การปรับค่าความต้านทานสามารถหาได้จากความสัมพันธ์
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมีผลต่อการวัดค่าของสเตรนเกจ แต่สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้หนึ่งตัวในวงจรวีตสโตนบริดจ์ เพื่อปรับค่าชดเชยให้กับวงจรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor)

การตรวจวัดอุณหภูมิใช้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าจากสัญญาณอนาล็อกไปสู่ สัญญาณดิจิตอล โดยสัมพันธ์กับอุณภูมิ มีรูปแบบใหญ่ ๆ ของ เซนเซอร์ อยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ

Thermocouple คือ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า ทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว มาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน ที่ปลายด้านหนึ่ง เรียกว่า "จุดอุณหภูมิ" ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่า "จุดอ้างอิง" หากที่จุดวัดอุณหภูมิและจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจร Thermocouple

Resistance Temperature Detector (RTD) คือ ตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะ ซึ่งค่าความต้านทานดังกล่าวจะมีค่าเพิ่มตามอุณหภูมิ ความต้านทานของโลหะที่เพิ่มขึ้นนี้ เรียกว่า “สัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบบวก” นิยมนำไปใช้ในการวัดอุณหภูมิในช่วง -270 to 850 °C. วัสดุที่นำมาใช้จะเป็นโลหะที่มีความต้านทานจำเพาะต่ำ เช่น แพลทินัม, ทังสเตน และ นิกเกิล


Thermistor เป็นอุปกรณ์ความต้านทานชนิดที่สามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานเมื่อได้รับความร้อน โดยที่ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงแบบไม่เป็นเชิงเส้น กับอุณหภูมิ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

Positive Temperature Comitial (PTC) เป็นชนิดที่ปกติจะมีค่าความต้านทานต่ำ เมื่อได้รับความร้อนจะทำให้มีค่าความต้านทานสูงขึ้นตามลำดับอุณหภูมิ นำไปใช้ตรวจสอบระดับความร้อน หรือทำให้เกิดความร้อนขึ้นเพื่อควบคุมการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับขดลวด เช่น วงจรล้างสนามแม่เหล็กอัตโนมัติของเครื่องรับโทรทัศน์สี (Degaussing coil) เป็นต้น
Negative Temperature Comitial (NTC) เป็นชนิดที่ปกติจะมีความต้านทานสูงเมื่อได้รับความร้อน ค่าความต้านทานจะต่ำลง ใช้งานด้านการตรวจสอบความร้อนเพื่อควบคุมระดับการทำงาน เช่น ในวงจรขยายเสียงที่ดีใช้ตรวจจับความร้อนที่เกิดจากการทำงานแล้วป้อนกลับไปลดการทำงานของวงจรให้น้อยลง เพื่ออุปกรณ์หลักจะไม่เกิดความร้อนมากจนเกินไป



วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศิลปินที่ชื่นชอบและภาพยนตร์ที่ประทับใจ (นายภัททิยะ คำบัว ชื่อเล่นนันท์)

สำหรับศิลปินที่ชื่นชอบในดวงใจของผมนั่นคือ

LADY GA-GA



เลดี้ กาก้าเกิดที่ยองเกอร์ส รัฐนิวยอร์ก บิดาและมารดาเป็นนักลงทุนทางอินเทอร์เน็ตเชื้อสายอิตาเลียน ในวัยเด็ก กาก้าเข้าเรียนที่โรงเรียนคอนแวนต์แซเครดฮาร์ตในแมนฮัตตัน และเรียนต่อด้านดนตรีที่โรงเรียนศิลปะทิสช์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก แต่ลาออกก่อนจะสำเร็จการศึกษาหลังจากยุติการเรียน กาก้าย้ายออกจากบ้าน และใช้เวลาส่วนใหญ่เตร็ดเตร่อยู่ในแมนฮัตตัน ก่อนจะได้เซ็นสัญญาในที่สุด

กาก้าเซ็นสัญญาครั้งแรกกับค่ายเดฟ แจม เมื่อมีอายุได้ 19 ปี แต่ถูกยกเลิกสัญญาในอีก 3 เดือนให้หลัง ก่อนจะเซ็นสัญญาอีกครั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 กับอินเตอร์สโคปเร็คคอร์ด ต้นสังกัดปัจจุบัน ในช่วงแรกนั้น กาก้าทำงานในฐานะนักแต่งเพลงเสียเป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่เอค่อนจะมองเห็นถึงศักยภาพในด้านการร้องเพลงของกาก้า และคิดว่า เธอมีความสามารถเพียงพอที่จะออกผลงานเป็นของตนเองได้ กาก้าได้เริ่มทำอัลบั้มแรก The Fame ร่วมกับโปรดิวเซอร์ เรดวัน และได้ออกวางจำหน่ายอัลบั้มในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 โดยเปิดตัวที่อันดับ 17 ในชาร์ตบิลบอร์ดและขึ้นสูงสุดที่อันดับ 4

กาก้ายังเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อ คริสติน่า อากีเลร่า ขึ้นแสดงเพลง "Keep Gettin' Better" ในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวี วีดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ในภาพลักษณ์คล้ายๆกัน จนมีสื่อมวลชนวิจารณ์ว่า คริสติน่านั้นเลียนแบบภาพลักษณ์ของกาก้า ซึ่งกาก้าก็ได้ให้ความเห็นว่า เธอไม่คิดว่า คริสติน่านั้นจะเลียนแบบเธอ แต่ก็ยอมรับว่าจากเหตุดังกล่าวมีส่วนทำไห้เธอเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น และเธอเองก็รู้สึกขอบคุณ ส่วนคริสติน่าเองก็ได้ออกมาปฏิเสธ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวเธอไม่รู้จักเลดี้ กาก้าด้วยซ้ำ
ชื่อ "กาก้า" นั้นได้แรงบันดาลใจมาเพลง "Radio Ga-Ga" ของ ควีน ซึ่งร็อบ ฟูซารี หนึ่งในทีมโปรดิวเซอร์ เป็นคนตั้งให้










ชื่อจริง :โจแอนน์ สเตฟานี เจอร์มาน็อตตา

วันเกิด : 28 มีนาคม ค.ศ. 1986 (อายุ 24 ปี)

แนวเพลง : ป็อป, แด๊นส์, ดนตรีอีเลกทรอนิกส์

อาชีพ : นักร้อง นักแต่งเพลง

ผลงาน : ปี 2006– ปัจจุบัน

ค่าย Def Jam, Interscope, Kon Live, Streamline, Cherrytree

เว็บไซต์ http://www.ladygaga.com/






เหตุผลที่เลือกเธอมาเป็นศิลปินที่ชื่นชอบ
กาก้า เป็นหญิงสาวที่มีความ sexy ทั้งสวย ร้องเพลงดีเต้นเก่ง แถมยังเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เห็นได้จากการตอบรับจากผู้ชมผู้ฟังทั่วทั้งโลกเลยทีเดียว อีกทั้งเธอยังเป็นบุคคลที่สาวๆๆทั้งโลกยกย่องให้เป็นผู้หญิงที่มีสไตล์การแต่งตัวที่ทันสมัยและเป็นตัวของตัวเองเป็นอย่างมาก และถ้าถามว่ามีใครที่จะแต่งตัวเหมือนกาก้ารึเปล่า ? นั่นมีเสียงตอบรับกลับมาทุกคำตอบว่า "ไม่ เลย" เพราะว่ากาก้ามักแต่งตัวที่โป๊และบ้าพลังมากเกินไป
สำหรับบางท่านอาจจะคุ้นเคยกับเพลงของเธอที่ดังอยู่ก่อนหน้านี้ไม่นาน นั่นคือ TELEPHONE นั่นเอง












ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%89_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4



ภาพยนตร์ที่ประทับใจ









Resident Evil ผีชีวะ

ชื่อหนัง : Resident Evil, ผีชีวะ
แนวหนัง : แอ็คชั่น, ระทึกขวัญ, สยองขวัญ, Sci-Fi
ผู้กำกับ : พอล แอนเดอร์สัน
นักแสดง : มิลล่า โจโววิช, มิเชล ร้อดดริเกวซ, เอริค มาเบียส, เจมส์ เพียวฟอย, มาร์ติน คริวส์




เรื่องย่อ
บางอย่างที่เลวร้าย กำลังรอคอยอยู่ใน ‘ไฮฟ์’ (the hive) อันเป็นศูนย์วิจัยทางพันธุกรรม ซึ่งดำเนินการโดย อัมเบรลล่า คอปปอเรชั่น องค์กรลึกลับทางด้านวิศวพันธุกรรม หลังจากเกิดเหตุการณ์แพร่กระจายของไวรัสมรณะ เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้า อลิซ (มิลล่า โจโววิช) และ เรน (มิแชล ร้อดดริเกวซ) ได้รับมอบหมาย ให้นำทีมคอมมานโด เข้าสกัดกั้นการแพร่กระจาย ของเชื้อไวรัสภายในศูนย์วิจัย ซึ่งส่งผลให้เจ้าหน้าที่วิจัยหลายคน กลายเป็นปิศาจร้ายซอมบี้ พวกเขาหารู้ไม่ว่า แม้เพียงแค่รอยกัดเพียงรอยเดียว ก็สามารถทำให้พวกเขา กลายเป็นส่วนหนึ่งของพวกมันได้

อลิซและกองกำลังของเธอ มีเวลาในการสกัดกั้นไวรัสร้ายภายในไฮฟ์ เพียงแค่สามชั่วโมงเท่านั้น ก่อนที่กองทัพผีดิบจะยึดครองโลก ระหว่างที่ทำการสกัดกั้นนี้เอง พวกเขาได้พบสาเหตุของการแพร่กระจายของไวรัสมรณะ โดยฆาตกรตัวจริง ที่สังหารเหล่าทีมงานวิจัยก็คือ เร้ดควีน ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมทุกอย่าง ที่อยู่ภายในไฮฟ์

ในการเข้าถึงเร้ดควีน อลิซและลูกทีมของเธอ ต้องผจญกับอุปสรรคที่น่ากลัวมากมาย อาทิ เลเซอร์มรณะ, หมากลายพันธุ์ และ ห้องทดลองขนาดใหญ่ ซึ่งอลิซได้เห็นผลการทดลองที่ชั่วร้าย ของบริษัทอัมเบรลล่า ไม่ช้าอลิซก็พบว่า เหล่าผีร้ายเป็นผลจากการทดลองที่ผิดพลาด ของโปรเจ็กต์ล่าสุดของบริษัทอัมเบรล่า ที่มีชื่อว่า ที – ไวรัส ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นยาชะลอความแก่ และเพื่อรักษาเชื้อโรคที่เกิดขึ้นในระบบประสาท ไวรัสทีมีศักยภาพ ในการฟื้นคืนชีพเซลล์ที่ตายแล้ว แต่ก่อนที่จะถูกนำไปใช้ในทางบวก ไวรัสตัวนี้กลับถูกแพร่กระจายสู่อากาศเสียก่อน

เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เร้ดควีนได้ทำการปิดทุกส่วนของไฮฟ์ไว้ ขณะที่เผชิญหน้ากับคอมพิวเตอร์ยักษ์ เรนได้ขอให้เธอพาพวกของเธอออกไปก่อน ซึ่งเดอะเร้ดควีนตอบตกลง แต่ก็ย้ำว่า มันจะปล่อยเฉพาะพวกที่ไม่ติดเชื้อเท่านั้น แน่อนว่าไม่มีพวกเขาคนใดจะหนีไป จนกว่าจะค้นหาแอนตี้ไวรัส ที่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสมรณะเจอเสียก่อน ระหว่างนี้ พวกเขาต้องต้องเผชิญกับเดอะลิคเกอร์ สัตว์ประหลาดที่เกิดจากการกลายพันธุ์อีกตัวหนึ่ง พละกำลังของมันยากที่ใครจะต้านทานได้

ทีมของอลิซจะสามารถหยุดเร้ดควีน และค้นหาแอนตี้ไวรัสได้ทันเวลาหรือไม่ หรือว่าพวกเขาจะกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของกองทัพปิศาจ และถ้ามีคนรอด ใครจะเป็นผู้ที่หนีออกจากไฮฟ์อย่างปลอดภัย ติดตามคำตอบได้ใน Resident Evil

ซึ่ง Resident Evil มีผลงานออกมาด้วยกันแล้ว 3 ภาค แต่ในเร็วๆนี้กำลังจะออกภาคที่ 4

เหตุผลที่ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้

ผมจะเริ่มเล่าตอนที่ผมได้เริ่มดู Resident Evil I แล้วนั้น มันมีฉากที่ต่อสู้แบบบู้ๆ และก็ลึกลับเป็นที่สนุกสนานและตื่นเต้นมากเลยครับ เพราะว่าเป็นหนังแนววิทยาศาสตร์ที่มีเชื้อโรคที่เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว แล้วก็มีอลิซ ที่เป็นนางเอกของเรื่องนี้ ที่จะนำความสงบสุขกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งโดยในภาคใหม่นี้จะมีกองทัพอลิซที่ถูกโคลนนิ่งไว้มากมาย ที่จะมาต่อสู้กับพวกเชื้อโรคเหล่านั้น และในตอนนี้ผมก็ยังคงติดตามข่าวของหนังเรื่องนี้ไปเรื่อยๆๆ เมื่อมีภาคใหม่ออกมา แน่นอนว่าผมต้องไปดูแน่ๆๆครับ




วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศิลปินที่ใช่&ภาพยนตร์ที่ชอบ





"ศิลปินที่ชอบของ kamilia อย่างผมนั้นจะเป็นใครไม่นอกจาก สาวๆวง KARA อยู่แล้ว ก่อนอื่นเราไปทำความรูจักกับพวกเธอกันเลยดีกว่าครับ"

KARA(คาร่า)เกิร์ลกรุ๊ปสุดฮอตของเกาหลี มีสมาชิก 5 คนประกอบไปด้วย ปาร์ค กยูริ หัวหน้าวงผู้เข้มแข็ง ฮัน ซึงยอน สาวมั่นมากความสามารถ ที่พกพาความสดใสมาเต็มพิกัด จอง นิโคล สาวน้อยจากแดนไกลที่แร๊พได้มันไม่แพ้ผู้ชาย คู ฮารา สาวช่างฝันที่ไม่ละความพยายาม และน้องเล็กสุดของวง คัง จียอง สาวน้อยสุดน่ารัก ที่ใคร ๆ ได้รู้จักจะต้องตกหลุมรักในความน่าเอ็นดูของเธอ

เริ่มเดบิวต์ครั้งแรกในวันที่ 29 มีนาคม ปี 2007 กับงานเพลงอัลบั้มแรก Blooming ที่เป็นส่วนผสมของแนวเพลง Funk, Hip-hop, Dance และ Pop โดยส่ง 2 ซิงเกิ้ลสุดฮิต Break It และ If U Wanna ออกมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆให้กับวงการเพลงเกาหลี จนวัยรุ่นทั่วประเทศสามารถจดจำภาพลักษณ์ของวง KARA ได้เป็นอย่างดี กับความสดใสน่ารัก และโชว์ที่มีพลังของพวกเธอ จากนั้นก็กลับมาอีกครั้งกับสมาชิกใหม่ของวง(ฮารา และ จียองครับ)ใน 1st Mini Album Rock-Uที่บ่งบอกถึงความน่ารักสดใสของพวกเธอได้เป็นอย่างดี

ปลายปี 2008 KARA ก็ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ที่สดใสกว่าเดิมด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใสที่มาพร้อมกับมินิอัลบั้มชุดที่สอง Pretty Girl โดยส่งซิงเกิ้ลสุดฮอต Pretty Girl มาสร้างสีสันในช่วงปลายปีให้คึกคัก พร้อมกับพาให้ Pretty Girl ติดชาร์ตเพลงอันดับ 1 ของรายการเพลงชั้นนำของเกาหลี

ในปี 2009 KARA ก็กลับมากับภาพลักษณ์ใหม่อีกครั้งจากสาวน้อยที่สดใสกลายมาเป็นเทพธิดาสุดอ่อนหวาน ที่แปลงโฉมให้ทั้ง 5 สาวดูโตขึ้น สวยใสและบริสุทธิ์ กับซิงเกิ้ล Honey

และในปี 2010 ปีนี้นี่เองทั้ง 5 สาว ก็กลับมาอีกครั้งในภาพลักษณ์ของจอมโจรสาว ซึ่งสามารถขโมยใจของเหล่า kamilia ไปเรียบร้อยแล้ว กับ Mini Album ใหม่ Lupin และในปีเดียวกันนี้เองก็ ได้ส่งซิงเกิ้ลใหม่อย่าง We're With You ซึ่งมีคอนเซ็ปในการเชียร์ทีมชาติเกาหลีใต้ ในฟุตบอลโลก 2010 โดยมีเป็นเพลงที่ร้องตามกันได้ง่ายๆ

ประวัติโดยย่อของ 5 สาว KARA(คาร่า)


ปาคกยูริ [หัวหน้าวง]

ชื่อเล่นที่แฟนไทยเรียก: ลีดเดอร์, แม่ริ, ริ
ชื่อที่แฟนเกาหลีเรียก: กยูลีดเดอร์,กยูล[ส้ม]
วันกิด: 21 พฤษภาคม 2531
อายุ: 22ปี นับแบบเกาหลี (21ปี-สากล)
กรุ๊ปเลือด: เอบี
ส่วนสูง: 162 เซนติเมตร
การศึกษา: Dongduk Woman's University ปี2
ชอบสี: ม่วง
ศิลปินที่ชอบ: H.O.T, Taeyang (BigBang)
ความสามารถความชำนาญ: ร้องเพลงTrot
คติพจน์: Whatever the situation, let's think positively





ฮันซึงยอน [พี่รอง]

ชื่อเล่นที่แฟนไทยรียก: แฮม, ยอน, ซึง ,เหม่ง
ชื่อที่แฟนเกาหลีเรียก: แฮม[Hamster]
วันกิด: 24 กฤกฎาคม 2531
อายุ: 22ปี นับแบบเกาหลี (21ปี-สากล)
กรุ๊ปเลือด: เอ
ส่วนสูง: 160 เซนติเมตร
การศึกษา: จบการศึกษาจาก Tenafly High School (New Jersey)
ชอบสี: ชมพู
ศิลปินที่ชอบ: Son Ho Young(GOD), Jewelry, SS501
งานอดิเรก: ดูอนิเมะ
ความสามารถความชำนาญ: ร้องเพลง การแสดง โดยเฉพาะเลียนแบบกอลลัม
คติพจน์: Go with what you believe in


จองนิโคล

ชื่อเล่นที่แฟนไทยเรียก: โคล, นิก
ชื่อที่แฟนเกาหลีเรียก: โคล, โคลลี่
วันกิด: 7 ตุลาคม 2534
อายุ: 19ปี นับแบบเกาหลี (18ปี-สากล)
กรุ๊ปเลือด: เอ
ส่วนสูง: 164 เซนติเมตร
ภูมิลำเนาเดิม: แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอมเริกา
การศึกษา: จบจาก Global Christian School ปัจจุบันกำลังศึกษาที่ Laurelsprings School เกรด11
ชอบสี: ส้ม
ศิลปินที่ชอบ: Shinhwa
คติพจน์: Always smile



กูฮารา

ชื่อเล่นที่แฟนไทยเรียก: กู่กู้, ฮารากู
ชื่อที่แฟนเกาหลีเรียก: กุลฮารา[Honey Hara],โคอารา[Koala], ฮารากู[Hara Koo G7]
วันกิด: 13 มกราคม 2534
อายุ: 20ปี นับแบบเกาหลี (19ปี-สากล)
กรุ๊ปเลือด: บี
ส่วนสูง: 164 เซนติเมตร
การศึกษา: DongMyung Girls High School
ศิลปินที่ชอบ: Fin.K.L









คังจียอง [น้องเล็ก]

ชื่อเล่นที่แฟนไทยเรียก: เอ๋อ, น้องอ้วน
ชื่อที่แฟนเกาหลีเรียก: จิง, คังอาจี [Puppy ลูกสุนัข]
วันกิด: 18 มกราคม 2537
อายุ: 17ปี นับแบบเกาหลี (16ปี-สากล)
กรุ๊ปเลือด: โอ
ส่วนสูง: 166 เซนติเมตร
การศึกษา: Kwanghee Middle School
ศิลปินที่ชอบ: Daesung (BigBang)







เหตุผลที่ชอบ

"สาวๆทั้งน่ารัก เต้นเก่ง ร้องเพลงก็เพาะ และนิสัยยังน่ารักอีก จะไม่ให้ชอบได้ยังไงละครับ!!! แต่ถ้าจะถามว่าชอบคนไหมมากกว่ากัน อันนี้คิดหนักเลยหละ เอาเป็นว่าผมปลื่มหมดใจทั้ง 5 คนเลยละกันครับ555"

------------------------------------------------------------------


"ส่วนหนังที่ผมชอบตอนนี้ก็ คงเป็นเรื่อง 200 pounds beauty หรือชื่อไทยว่า ฮันนะซังสวยสั่งได้ นับเป็นหนังเรื่องแรกเลยที่ทำให้ผมติดหนังงอมแงมได้ โดยดุเรื่องนี้ไปแล้ว 5 รอบ ภาคไทย 4 ภาคเกาหลี 1 และคลาดว่าจะเพิ่มขึ้นเร็วๆนี้ ก่อนอื่นไปทำความรู้จักเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้กันเลยดีกว่าครับ"

หนังเรื่องนี้ ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2550 (ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามร้านขาย dvd ชั้นนำทั่วไป) กำกับโดย Kim Young Hwa นำแสดงโดย Kim Ah Joong และ Joo Jin Mo มีเนื้อเรื่องอยู่ว่า " ฮันนะ (คิมอาจุง) สาวร่างท้วมน้ำหนักกว่า 200 ปอนด์ ผู้มีเสียงร้องเป็นเลิศ แต่ต้องหลบอยู่หลังเวทีคอยร้องลิปซิงค์ในกับนักร้องสาวสวยชื่อดังอย่าง อามิ โดยการเกลี้ยกล่อมของซังจุน (จูจินโม) โปรดิวเซอร์ซึ่งเห็นพรสวรรค์ในตัวเธอ ฮันนะต้องการเอาชนะใจของซังจุน แต่น้ำหนักเจ้ากรรมของเธอเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวง เธอจึงตัดสินใจทำศัลยกรรมแปลงโฉมทั้งตัว กลายเป็นนักร้องสาวสวยเสียงดีนาม เจนนี่ แล้วความรักของฮันนะจะเป็นอย่างที่หวังหรือไม่ ซังจุนจะมองห็นตัวตนที่แท้จริงที่อยู่ในตัวเธอไหมนะ ก็ลองไปหามาดูนะครับ ผมขอสปอยแค่นี้เดียวเสียอัธรสกันพอดีนะครับ"

สิ่งที่ประทับใจ


"เป็นเรื่องที่ทำให้ผมรู้ได้จัก คิมอาจุง เป็นครั้งแรก ซึ่งเธอแสดงได้อย่างมีเอกลักษณ์ ทำให้ลืมเธอคนไม่ลงเลยหละครับ และถ่ายถอดอารมณ์ ความรู้สีกของตัวละคร ออกมาได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้เธอก็เป็นคนร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เองด้วย ซึ่งเสียงของเธอนั้นทั้งไพเราะและเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง จริงๆครับ นอกจากนี้ผมก็ยังชอบคำสอนของพ่อนางเอกในหนังที่ว่า มีเพียงแค่พระเจ้าเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นได้ทุกอย่าง มนุษย์อย่างเราทำเพียงสิ่งที่ตนเองทำได้ก็พอแล้ว"